วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 2 ต่อมไร้ท่อ

1.ต่อมใต้สมอง

ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น

1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ 

2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น 

3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ 

4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย 

5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น 




2.ต่อมไทรอยด์ 

ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย
3.ต่อมพาราไทรอยด์
ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อ พาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา




   3.ตับอ่อน

ลักษณะเป็นต่อมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร ใกล้กับลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งเป็นลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้
1อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ปกติ
2กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น


4.ต่อมหมวกไต ( adrenal gland )

เป็นก้อนสีเหลืองๆ อยู่เหนือไตข้างละ 1 ต่อม 
ต่อมหมวกไตในผู้ใหญ่ประกอบด้วยต่อมไร้ท่อ 2 ต่อม คือต่อมหมวกไตส่วนนอกเจริญมาจากเซลล์มีเซนไคมาส (mesenchymas) ของชั้นมีโซเดิร์มของตัวอ่อน ต่อมหมวกไตส่วนในเจริญมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเดียวกับเซลล์ประสาทในทารกต่อมหมวกไตจะมีขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากขาดสารเร่งปฏิกิริยา จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเหล่านี้ได้ ผลิตได้แต่สารที่จะเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนอีสโทรเจนที่รกแบ่ง ฮอร์โมนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่สำคัญ คือ
1) Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับ และกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทำให้อ้วน อ่อนแอ หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูง
                2) Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อไต ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำและโวเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลง จนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเพราะความดันเลือดต่ำ
                3) Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
                4) อะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
4.1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด
4.2) Noradrenlin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า


5.ต่อมเพศ
ในชายได้แก่อัณฑะและในหญิงได้แก่รังไข่ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่างคือ สร้างเซลสืบพันธ์และสร้างฮอร์โมน
6.1ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งจะทำหน้าที่หลายอย่างคือ
1) ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์
2) ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น
3) กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์
4) ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย




จาก : https://sites.google.com/site/wachirasenarat/home

แบบทดสอบ
1. อวัยวะในข้อใดเป็นได้ทั้งต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อ
      1. ต่อมไทรอยด์
      2. ตับอ่อน
      3. ต่อมเพศ
      4. ต่อมไทมัส

2. ต่อมใดที่จัดอยู่ในระบบประสาท
      1. ต่อมไทรอยด์
      2. ต่อมไพเนียล
      3. ต่อมหมวกไต
      4. ต่อมไทมัส

3. ต่อมใดผลิตฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน ( follicle stimulating hormone )
      1. ต่อมใต้สมอง
      2. ต่อมไพเนียล
      3. ต่อมไทรอยด์
      4. ต่อมเพศ

4. ถ้าต่อมไทมัสถูกตัดออกจะเกิดอาการอย่างไร
     1. พูดไม่ได้
      2. ผิวหนังแห้งแข็งเป็นสะเก็ด
      3. ตาบอด
      4. เดินไม่ได้

5. การทำงานของพาราไทรอยด์ฮอร์โมน จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับข้อใด
      1. วิตามินเอ
      2. วิตามินบี
      3. วิตามินซี
      4. วิตามินดี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น